พลังงานความร้อนใต้พิภพ

พลังงานความร้อนใต้พิภพ หรือมีชื่อเรียกอีก ชื่อคือ พลังงานอุณหธรณี เป็นการที่เราเจาะนำพลังงานความร้อนที่อยู่ในใต้ดิน ซึ่งเราต้องเจาะให้ถึงแกนกลางของโลกที่มีอุณหภูมิสูงถึง 5,000 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้น้ำที่ถูกเก็บไว้ในโพรงของชั้นหิน จนกลายเป็นไอน้ำดันขึ้นมาสูงพื้นดินลอยขึ้นมาสูงชั้นบรรยากาศ แล้วจะทำให้กลายเป็นเมฆ แล้วก็ตกลงมาเป็นฝน จึงได้เกิดเป็นพลังงานหมุนเวียน นิยมใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ตอนนี้มี 24 ประเทศที่ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานความร้อนใต้พิภพ แหล่งที่สามารถกักเก็บพลังงานความร้อนใต้พิภพมีอยู่ 4 ลักษณะ คือ 1.แหล่งเป็นไอน้ำ เป็นแหล่งพลังงานที่อยู่ใกล้แหล่งหินเหลมเหลวทำให้บริเวณนั้นเกิดความร้อนสูงจนเดือนเป็นไอ อุณหภูมิของไอน้ำมีความร้อนสูงถึง 240 องศาเซลเซียส 2.แหล่งความร้อนที่ส่วนใหญ่เป็นน้ำเค็ม โดยจะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 180 องศาเซลเซียส บางแหล่งน้ำจะมีก๊าซธรรมชาติประกอบอยู่ด้วย สามารถแยกก๊าชออกมาใช้ประโยชน์ได้อีก 3.แหล่งที่เป็นหินร้อนแห้งโดยที่ไม่มีน้ำอยู่เลย เราจึงต้องนำน้ำเทลงไปเพื่อให้เกิดไอน้ำใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า 4.แหล่งที่เป็นแมกมา หรือลาวาเหลว เป็นแหล่งพลังงานความร้อนที่มีค่าความร้อนสูงสุดที่มีอุณหภูมิถึง 650 องศาเซลเซียสส่วนใหญ่จะสามารถพบได้ในแหล่งใต้ภูเขาไฟ

Read More