พลังงานเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ และมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด แต่มนุษย์เป็นผู้ที่สามารถดึงเอาพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการใช้ชีวิตของเรา และสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับสังคม เมื่อปริมาณการใช้พลังงานในรูปแบบหนึ่งเพิ่มมากขึ้น ก็เป็นธรรมดาที่วันหนึ่งพลังงานนั้นจะลดน้อยลงจนไม่เพียงพออีกต่อไป การค้นหาพลังงานทดแทนจึงตามมา มันทำให้เรารู้ว่าบนโลกนี้ยังมีพลังงานในรูปแบบอื่นๆ อีกมาก รอแค่เราหาวิธีใช้งานมันเท่านั้นเอง ลองมาดูกันว่าพลังงานทดแทนที่ค้นพบ และถูกนำมาใช้ประโยชน์แล้วมีอะไรกันบ้าง พลังงานแสงอาทิตย์ นี่เป็นกลุ่มพลังงานประเภทแรกที่ถูกนึกถึง เนื่องจากมีปริมาณมากมายมหาศาล แถมยังเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสภาพแวดล้อมด้วย โซล่าร์เซลล์หรือเซลล์แสงอาทิตย์เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการเปลี่ยนรูปแบบของพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานรูปแบบอื่นที่พร้อมใช้งาน เช่น พลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น สมัยก่อนราคาของเซลล์แสงอาทิตย์ค่อนข้างสูงมาก หากต้องการขนาดใหญ่จำเป็นต้องสั่งผลิตพิเศษ แต่เดี๋ยวนี้ราคาถูกลงมากแล้ว กระบวนการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้เป็นพลังงานทดแทนจึงมีต้นทุนไม่สูงมากนัก พลังงานลม เป็นการดึงเอาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในเรื่องความแตกต่างของอุณหภูมิในสองพื้นที่ มาเชื่อมโยงกับการสร้างพลังงานกลก่อนจะต่อยอดไปสู่การแปรรูปเป็นพลังงานแบบอื่นๆ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้อุปกรณ์ในรูปแบบของกังหันลมขนาดใหญ่ ติดตั้งในจุดที่มีกระแสลมเร็วเพียงพอ และควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในบ้านเราอาจจะมีจุดที่เหมาะสมกับการใช้พลังงานลมไม่มากนัก แต่ก็มีการนำมาใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าบ้างแล้ว พลังงานชีวภาพ จะเรียกว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่กลายเป็นขยะก็ได้ เป็นพลังงานที่น่าสนใจมากด้วยเหตุผลหลัก 2 ข้อ คือ ต้นทุนในการผลิตพลังงานชีวภาพไม่สูงมาก สามารถปรับขนาดของการผลิตได้หลากหลาย เป็นการช่วยลดภาระขยะในเชิงเกษตรกรรมได้จำนวนมาก ตัวอย่างของวัตถุดิบที่นิยมนำมาผลิตพลังงานชีวภาพ ได้แก่ มูลสัตว์ ชานอ้อย แกลบ วัชพืช…
บทความพลังงาน
เพราะการใช้ชีวิตของมนุษย์ทั้งโลกมีพลังงานเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเสมอ ทุกวินาทีที่เรายังหายใจเราพึ่งพาพลังงานอยู่ตลอดเวลาไม่รูปแบบใดก็รูปแบบหนึ่ง อย่างเช่น ทันทีที่ตื่นเราก็ใช้พลังงานไฟฟ้า ออกจากบ้านก็ใช้พลังงานเชื้อเพลิง ถ้าหนาวก็ใช้พลังงานความร้อน เป็นต้น แต่เดิมเราใช้พลังงานจากธรรมชาติในเรื่องง่ายๆ และมักเป็นการใช้งานกันในวงแคบแบบครัวเรือน ต่อมาจึงเกิดเป็นอุตสาหกรรมพลังงานขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้นอีกระดับ เรามีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ต้องการใช้พลังงาน เรามีกิจกรรมความบันเทิงที่ต้องใช้พลังงาน และโดยภาพรวมเรามีอัตราการใช้พลังงานมากขึ้นทุกวัน จนกระทั่งถึงจุดหนึ่งที่เราเริ่มตระหนักว่า หากพลังงานที่เราใช้อยู่นั้นหมดสิ้นไปจะเป็นอย่างไร จุดกำเนิดของพลังงานทดแทน จะบอกว่ามนุษย์เป็นผู้สร้างพลังงานทดแทนก็คงไม่ถูกซะทีเดียว เราไม่ได้เป็นผู้สร้าง พลังงานทั้งหมดมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เราแค่มองเห็น แล้วดึงเอามาใช้ประโยชน์ในแบบที่เราต้องการเท่านั้นเอง อย่างที่เกริ่นไปแล้วข้างต้นว่า พอเราใช้พลังงานในปริมาณที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ก็เกิดความกังวลใจว่าในอนาคตข้างหน้า หากพลังงานที่มีอยู่ลดน้อยลงหรือหมดไปเลยจำทำอย่างไร แรกๆ ก็เป็นเพียงความคิดที่กระตุ้นให้หลายคนเกิดความสนใจ แต่พอเวลาผ่านไปเราจึงได้เห็นว่าสิ่งที่คิดนั้นมีสัญญาณว่าจะเกิดขึ้นจริงในช่วงระยะเวลารวดเร็วกว่าที่เราคิดเอาไว้ แนวคิดในการหาพลังงานทดแทนจึงเริ่มต้นขึ้น ความหมายที่แท้จริงของพลังงานทดแทนก็คือ พลังงานในรูปแบบใหม่ๆ ที่จะเอามาใช้ทดแทนของเดิมที่เรากำลังใช้งานอยู่ ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ เช่น ยานพาหนะในปัจจุบันเราใช้น้ำมันเป็นพลังงานเชื้อเพลิงหลัก ต่อมาจึงปรับให้ใช้น้ำมันลูกผสมในตระกูลแก๊สโซฮอล์ได้ และล่าสุดก็มีการออกแบบเครื่องยนต์ให้รองรับการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ เป็นต้น นี่แหละคือลักษณะของพลังงานทดแทน ซึ่งมันก็ยังแยกย่อยออกไปได้อีกว่าพลังงานทดแทนเหล่านั้นเป็นแบบใช้แล้วหมดไป เรียกอีกอย่างว่าพลังงานสิ้นเปลือง หรือจะเป็นพลังงานหมุนเวียนที่ใช้แล้วใช้อีกได้ ตัวอย่างของพลังงานทดแทนที่ค้นพบ มีการนำมาใช้ประโยชน์บ้างแล้วในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้ – พลังงานแสงอาทิตย์ นี่เป็นรูปแบบของพลังงานทดแทนในอันดับแรกๆ…
พลังงานทดแทนเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยุคที่เราเริ่มเข้าใจการนำพลังงานมาใช้ประโยชน์กันใหม่ๆ ถึงแม้จะมีทฤษฏีที่กล่าวว่าพลังงานไม่มีวันสูญหาย เพียงแค่เปลี่ยนรูปได้ ซึ่งฟังดูเหมือนกับว่าเราจะมีพลังงานใช้กันไปจนชั่วลูกชั่วหลาน แต่ในความเป็นจริงเพียงแค่พลังงานเปลี่ยนรูปไปเราก็อาจไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้แล้ว อย่างเช่น ถ้าเราต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อขับเคลื่อนเครื่องจักรบางชนิด เมื่อใช้แล้วพลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานความร้อน ตอนนั้นก็ใช้เครื่องจักรต่อไม่ได้แล้ว จนกว่าจะสามารถแปลงพลังงานความร้อนให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าใหม่ หรือใช้พลังงานทดแทนชนิดอื่นๆ พลังงานลม พลังงานทดแทนที่มองข้ามไม่ได้ ในบ้านเรามีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการสรรหาพลังงานทดแทนประเภทต่างๆ มาใช้งานค่อนข้างมาก และพลังงานลมก็เป็นหนึ่งในนั้น เพียงแต่ว่าสภาพอากาศในบ้านเราอาจจะไม่ได้เอื้อให้สามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานลมได้ดีเท่ากับประเทศอื่นๆ ที่มีลมพัดแรงตลอดเวลา เรามีลมอยู่ทั้งหมด 3 ประเภท คือ ลมประจำปี ลมประจำฤดูกาล และลมประจำเวลา แต่มีแค่ลมประจำฤดูกาลกับลมประจำเวลาที่เอามาใช้ประโยชน์ได้ เพราะลมประจำปีเป็นลมที่เกิดจากความแตกต่างของเขตละติจูด เมื่อประเทศเราตั้งอยู่บนเส้นศูนย์สูตรพอดี ลมนี้ก็เลยมีความค่าเร็วน้อยเกินไป วิธีการดึงเอาพลังงานลมมาใช้มีหลากหลายรูปแบบ แต่แบบที่นิยมกันทั่วโลกจะเป็นการใช้กังหันลมขนาดใหญ่เชื่อมต่อกับห้องเครื่อง เพื่อแปลงลมให้เป็นไฟฟ้าแล้วค่อยดึงไฟฟ้าไปใช้ประโยชน์ตามจุดต่างๆ ที่ต้องการ เหตุผลที่กังหันลมถูกนำมาใช้มากที่สุดก็เป็นเพราะการดูแลรักษาค่อนข้างง่าย ใช้พื้นที่ในการติดตั้งแหล่งแปลงพลังงานไม่มากนัก และยังไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้พลังงานลมเป็นพลังงานทดแทน – พลังงานลมเป็นพลังงานสะอาด และมีปริมาณมาก สามารถใช้งานได้ตลอดไม่มีวันหมด หากสามารถประยุกต์ให้ในหลากหลายรูปแบบมากเท่าไร ก็หมายความว่าเราจะประหยัดพลังงานแบบอื่นๆ ไปได้มากพอสมควร – คุ้มค่าแก่การลงทุน หากมองดูภาพรวมแล้ว การสร้างแหล่งแปลงพลังงานลมเป็นพลังงานไฟฟ้า อาจจะดูเหมือนว่าต้องสร้างกังหันลมขนาดใหญ่ ยังต้องติดตั้งเครื่องมืออะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย…
อย่างที่ทราบกันดีว่าโลกของเรามีพลังงานต่างๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทยได้มีการศึกษา และพยายามพัฒนาพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานทดแทน ในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้พลังงานนี้มีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อคนในประเทศให้ได้มากที่สุด รวมถึงช่วยลดปัญหามลพิษ ลดค่าใช้จ่าย ฯลฯ แต่แหล่งที่มาของพลังงานทดแทนต่างๆ นี้ได้มาจากไหนบ้าง มาหาคำตอบไปด้วยกัน แหล่งที่มาของพลังงานทดแทน ที่มาของพลังงานทดแทน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดที่ทดแทนจากแหล่งที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือที่เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน ซึ่งพลังงานเหล่านี้จะไม่มีผลกระทบต่อโลก เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนด เช่น แสงจากดวงอาทิตย์ น้ำ ลม ชีวมวล ฯลฯ และพลังงานทดแทนอีกชนิด คือ พลังงานทดแทนที่ได้จากแหล่งใช้แล้วหมดไป หรือที่เรียกว่า พลังงานสิ้นเปลือง เช่น ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ ถ่านหิน ฯลฯ แสงจากดวงอาทิตย์ หรือ พลังงานแสงอาทิตย์ – เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นด้วยจำนวนมหาศาล และไม่มีที่สิ้นสุด โดยพลังงานนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมภายในโลก จึงทำให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถดึงพลังงานจากดวงอาทิตย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ภายในประเทศ…
ลองคิดดูครับว่าถ้าโลกนี้ไม่มีพลังงานทดแทนจะเป็นอย่างไร สิ่งแรกที่ผมนึกถึงเลยก็คือ แหล่งทรัพยากรธรรมชาติจะหมดเร็วมาก และทำให้ส่งผลกระทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอากาศ ซึ่งไม่นานนักก็จะไม่มีให้ใช้กัน ครับ ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าที่ทุกวันนี้ มีรกการเปลี่ยน พลังงานอย่างอื่นมาทดแทน ไม่ว่าจะเป็นกระแสน้ำที่ สามารถเอามาเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าได้อย่างมหาศาลยิ่งเป็น เขื่อนด้วยแล้ว โดยหลักการที่เขาใช้ก็เหมือนกับการปั่นจักรยาน ซึ่งบอกได้เลยว่ามันเป็นเรื่องที่ธรรมชาติสร้างมาอยู่แล้ว เพียงแค่เรา นำกังหันให้โดนน้ำที่ไหลมาอยู่แล้ว โดยทีไม่ได้เปลี่ยนให้กระแสน้ำเปลี่ยนแปลงเลย เพราะ ถ้าปล่อยไปเฉย ๆ ก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย นอกจากน้ำแล้ว พลังธรรมชาติอย่างลมเองก็เช่นกันซึ่งต่างกันที่สถานที่ติดตังเท่านั้น โดยผู้เชียวชาญเรื่องนี้จะคำนวณขนาดและน้ำหนักของตัวปั่นไฟว่าสามารถรองรับกับแรงได้มากขนาดไหน และสร้างให้เหมาะสม เพื่อให้ได้พลังงานมากที่สุดนั่นเอง ที่จริงแล้วหลักการเปลี่ยนพลังงานดังกล่าวมีหลักการ เพียงแค่ให้ได้ความร้อนนั่นเอง โดยจะมีตัวเก็บประจุไฟฟ้าเอาไว้เพื่อแจกจ่ายตามบ้านเรือนครับ ดังนั้นพลังงานที่ธรรมชาติมีเยอะที่สุดคือ พลังงานแวดอาทิตย์ครับ โดยใช้แผงโซล่าเซล ยิ่งโลกเราทุกวันนี้ที่ชั้นบรรยากาศที่น้อยลงทำให้แสงอาทิตย์ตกกระทบกับพื้นโลกได้เร็วขึ้น ดังนั้นการเก็บพลังงานประเภทนี้จึงได้รับความนิยม แต่ในประเทศไทยนั้น การทำแบบนี้ไม่ใช่จะทำได้ทุกคนครับ ต้องขอสัมปทานจากเจ้าหน้าทีเสียก่อน ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่ผมเห็นว่าประเทศของเราขาดการพัฒนาในเรื่องของความคิดอย่างมาก เพราะในต่างประเทศมีการให้ใช้อย่างเสรี ถึงขั้นมีรถไฟฟ้าโวล่าเซลเกิดขึ้นแล้ว ส่งผลให้ประเทศไทยไม่สามารถสร้างคนที่มีความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้ นั่นเอง
‘ พลังงานแสงอาทิตย์ ’ เป็นพลังงานจากธรรมชาติ ปราศจากมลพิษ เป็นพลังงานทดแทนอันมีศักยภาพสูง มนุษย์สามารถนำมาใช้ได้ตามความต้องการและมีประโยชน์มาก เช่น นำมาผลิตไฟฟ้าเพื่อทำความร้อน และในปัจจุบันนี้นำมาทำความเย็นก็ย่อมได้ สำหรับในประเทศไทยนั้น มีการประยุกต์ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพในหลายประเภท โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของอุปกรณ์แผงโซลาร์เซลล์ 6 ประโยชน์ของพลังงานแสงอาทิตย์ ทำงานได้แม้วันที่มีเมฆมาก แผงโซลาร์เซลล์ทำงานได้ทั้งวันที่มีแดดจัด หรือมีเมฆมาก อีกทั้งยังผลิตไฟฟ้าในช่วงหน้าหนาวได้ใกล้เคียงกับช่วงหน้าร้อนและถึงแม้ไฟดับก็มีการกักเก็บพลังงานไว้ในแบตเตอรี่ ทำให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้อีกด้วย ช่วยลดค่าใช้จ่าย ดูจากตัวเลขในปี 2009 – 2015 ของต่างประเทศ พบว่ามีการผลิตแผงโซลาร์เซลล์เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายประมาณ 30% ซึ่งมันจะถูกมากกว่าการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหิน อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางมลพิษอีกด้วย แผงโซลาร์เซลล์สมารถจัดเก็บพลังงานส่วนเกินในระบบแบตเตอรี่ได้ หลายๆคนยังมีความเข้าใจผิดอยู่ว่าแผงโซลาร์เซลล์นั้น สามารถใช้ได้เฉพาะตอนที่มีแสงอาทิตย์เท่านั้น แต่ความจริงแล้วมันยังกักเก็บพลังงานไว้ในแบตเตอรี่แล้วนำไปใช้ในภายหลังได้อีกด้วย แต่จะต้องเป็นแบบ Deep Cycle Battery จึงจะเหมาะกับการเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์ เนื่องจากมีความสามารถในการจ่ายประจุได้สูงสุด 75% และแบตเตอรี่ชนิดนี้สามารถจ่ายไฟได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากกว่า ออกแบบมาให้มีความเหมาะสมกับความต้องการเฉพาะของแต่ละบ้าน โดยวิศวกรผู้ติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์จะเป็นผู้คำนวณพร้อมออกแบบให้ตรงตามขนาดจริงของบ้านของคุณ เพราะฉะนั้น คุณจึงไม่ต้องกังวลเรื่องของค่าใช้จ่ายที่อาจเกินต้นทุนหรือถูกยัดเยียดให้ติดตั้งเกินความจำเป็น พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่สะอาดกว่าพลังงานถ่านหิน โดยถ่านหินจัดเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างหนึ่ง คือ…
‘พลังงานจากลม’ จัดเป็นพลังงานธรรมชาติอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการหมุนเวียนของกระแสอากาศ ด้วยการใช้กังหันลม เปลี่ยนพลังงานจลน์ให้กลายเป็นพลังงานกลจากการหมุนของเพลา เพื่อนำไปใช้ประโยชน์แก่ชีวิตของมนุษย์ ปัจจุบันนี้มีการนำพลังงานลมไปใช้ประโยชน์แต่ก็ยังไม่มากเท่าที่ควร อาทิ การนำกังหันลมไปติดตั้งในพื้นที่ซึ่งมีความเร็วลมแรงอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะชายทะเล เพื่อนำไปใช้ในการสูบน้ำ , ปั่นไดนาโม , ผลิตกระแสไฟฟ้า โดยในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการพัฒนาให้มีใบพัดขนาดใหญ่มากขึ้น แต่ให้ใช้แรงลมไม่มากนักในการปั่น พร้อมปรับปรุงให้มีเสียงเบากว่าในปัจจุบัน 5 ประโยชน์ของกังหันลม 1. ใช้ในการสูบน้ำ ซึ่งรับพลังงานจลน์จากลมพร้อมเปลี่ยนให้เป็นพลังงานกล เพื่อใช้ในการสูบน้ำจากบริเวณต่ำขึ้นบริเวณสูงเพื่อใช้ทำการเกษตร หรือ เพื่อการบริโภค 2. ใช้ในการผลิตไฟฟ้า รับพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่พร้อมเปลี่ยนให้เป็นพลังงานกล แล้วนำพลังงานกลนั้น มาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า ภูมิประเทศของบางประเทศที่มีกระแสลมพัดอย่างรุนแรงอย่างสม่ำเสมอ จะมีการนำพลังงานลมมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า 3.ทำนาเกลือ การใช้กังหันลมฉุดน้ำเพื่อทำนาเกลือ มีในประเทศไทยมานานแล้ว โดยการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านในสมัยโบราณ เพื่อใช้ในนาข้าว , นาเกลือ , นากุ้ง ก่อให้เกิดรายได้ในชุมชน 4.สร้างเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว ทุ่งกันหันลมที่ยืนสูงตระหง่าน เรียงรายกันอยู่ในทุ่งกว้าง แลดูสวยงาม นอกจากจะใช้ประโยชน์ในการสร้างกระแสไฟฟ้าแล้ว ยังสร้างเป็นแลนด์มาร์ค ให้นักท่องเที่ยวมาถ่ายรูปและชมวิว…
พลังงานทดแทนเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายหยิบขึ้นมาพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง บวกกับการพัฒนาความรู้ และเทคโนโลยีทำให้การก่อเกิดพลังงานในรูปแบบใหม่เกิดขึ้นมากมาย และทำได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามแหล่งพลังงานทดแทนเหล่านั้นก็ยังเป็นเรื่องที่สำคัญอยู่ดี มาดูกันว่าแหล่งกำเนิดพลังงานทดแทนมีอะไรบ้าง ดวงอาทิตย์ พลังงานทดแทนอย่างแรกที่มีการพูดถึงเยอะมากในบ้านเราต้องเป็น พลังงานแสงอาทิตย์อย่างไม่ต้องสงสัยเลย พลังงานทดแทนชนิดนี้ มีต้นกำเนิดที่ยิ่งใหญ่ที่สุด นั่นคือ ดวงอาทิตย์ ยิ่งบ้านเราอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรด้วยยิ่งทำให้ได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง ทำให้แหล่งกำเนิดพลังงานทดแทนชนิดนี้เหมาะกับเรามาก แม้ว่าจะมีการคำนวณว่ามีจุดดับ จุดบอดบนดวงอาทิตย์ แต่มันคงเป็นเรื่องที่อีกนานกว่าจะเกิด ส่วนแหล่งแปลงพลังงานอย่างโซลาร์เซลล์ได้มีการปรับขนาดลดลงให้สามารถใช้ระดับครัวเรือนได้แล้ว สายลม แรงลม พลังงานลมเป็นอีกชนิดหนึ่งที่ถูกพูดถึง มีการสร้างนวัตกรรมที่นำแหล่งพลังงานตัวนี้มาสู่พลังงานที่ใช้ได้จริง ซึ่ง ลม เป็นพลังงานอีกชนิดหนึ่งที่ไม่หมดไปจากโลก แหล่งพลังงานตัวนี้เหมาะมากกับบางสภาพแวดล้อมของไทยอย่าง แถวทะเลที่มีลมอยู่ตลอดเวลา หรือจะเป็นบนภูเขาที่มีลมพัดผ่านตลอดเวลาก็ได้เหมือนกัน พอมาจับคู่กับกังหันที่ทำให้เกิดไฟฟ้าถือว่าเข้าคู่กันได้ดีทีเดียว แต่แหล่งกำเนิดพลังงานนี้มีข้อเสียด้วยคือความเสถียรที่บางวันลมอาจจะไม่กระดิกเลยก็ได้ น้ำ และเขื่อน พลังงานทดแทนในรูปแบบของน้ำนั้น ประเทศไทยเรามีมานานแล้ว โดยพลังงานน้ำแบบนี้มักจะอยู่ในรูปแบบของเขื่อนที่มีขนาดกลางกับขนาดใหญ่ ซึ่งนอกจากจะเก็บกักน้ำแล้วยังมีเรื่องของการให้กำเนิดพลังงานไฟฟ้าเข้ามาด้วย แหล่งพลังงานทดแทนนี้ข้อเสียคือการสร้างเขื่อนที่ต้องใช้งบประมาณ ต้องมีพื้นที่เยอะมากทำให้การสร้างแต่ละครั้งต้องลงทุนสูง บางพื้นที่ไม่สามารถสร้างได้ด้วย พลังงานใต้พิภพ พลังงานทดแทนอีกรูปแบบหนึ่งที่บ้านเราอาจจะต้องมีการศึกษา นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป นั่นคือ แห่งพลังงานใต้พิภพ ที่เราสามารถขุดเจาะนำความร้อนจากใต้พิภพขึ้นมาใช้เพื่อให้เกิดพลังงานไฟฟ้าได้ จากทฤษฏีกล่าวว่า แกนโลกมีความร้อนสูงถึง 5,500 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว…
พลังงานทดแทนเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หลายประเทศหยิบขึ้นมาพูดถกเถียงกัน รวมถึงสร้างนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นเพื่อรองรับพลังงานทดแทนเหล่านั้น อย่าลืมว่าพลังงานฟอสซิล หรือ น้ำมันดิบที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้กำลังจะหมดลงไปทุกวัน แน่นอนว่าทางออกเรื่องพลังงานหมดโลกนั้น การดึงพลังงานทดแทนมาใช้นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นว่าแต่พลังงานทดแทนปัจจุบันมีอะไรบ้าง พลังงานลม พลังงานทดแทนจากธรรมชาติอย่างแรกที่เริ่มเข้ามาในบ้านเรามากขึ้นแล้ว นั่นคือ พลังงานลม การใช้กังหันเพื่อใช้พลังงานลมทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ากลายเป็นเรื่องที่เรามองเห็นได้มากขึ้นในบ้านเรา ยิ่งภาคอีสานและภาคเหนือมีการนำกังหันลมมาติดตั้งเพื่อนำมาเป็นแหล่งพลังงานทดแทนใช้เองในครัวเรือนหรือภาคธุรกิจส่วนตัว หากเหลือก็มีการนำพลังงานตรงนั้นไปขายต่อ แน่นอนว่าการลงทุนกังหันชุดหนึ่งแพง แต่เชื่อว่าคุ้ม พลังงานแสงอาทิตย์ ต่อมาเป็นพลังงานที่ทดแทนจากธรรมชาติที่แพร่หลายมากในบ้านเราจริงๆ นั่นคือ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานทดแทนแบบนี้ถือว่าเหมาะกับบ้านเรามาก เนื่องจากบ้านเราเป็นเมืองร้อนและแสงอาทิตย์แรงมากๆ การนำเอาแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานจัดว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากๆ จุดเด่นของพลังงานแสงอาทิตย์เป็นเรื่องของการจัดสเกลของพลังงานที่เราอาจจะทำเป็นฟาร์มโซลาเซลล์ (ที่สามารถทำปริมาณไฟฟ้าได้มาก เอาไปขายต่อได้) หรือจะนำโซลาเซลล์มาจัดไว้ในสเกลของบ้านพักที่อยู่อาศัยได้เหมือนกัน(ใช้พอเพียงในครอบครัวลดการนำเข้าไฟฟ้าจากภายนอก) ส่วนตัวคาดว่าพลังงานทดแทนธรรมชาติตัวนี้น่าส่งเสริมในระดับครัวเรือนมากจริงๆ พลังงานชีวมวล พลังงานทดแทนกลุ่มที่สาม เป็นพลังงานที่ทางการส่งเสริมมากขึ้นในภาคเกษตรกรรมมาก เนื่องจากเป็นพลังงานที่เกิดขึ้นได้จากการใช้สิ่งของเหลือจากภาคเกษตรกรรม นั่นคือ พลังงานชีวมวล พลังงานทดแทนที่เกิดจากการนำพวกต้นไม้ อ้อย ถ่าน ฟืน แกลบ จนไปถึง ขยะและมูลสัตว์ มาผ่านกระบวนการให้เกิดพลังงาน มีด้วยกัน 2 แบบคือ กระบวนการความร้อนและกระบวนการทางชีวภาพ (นำของเสียมาหมักกับน้ำหมักแล้วทำให้เกิดการย่อยสลายแล้วจะได้แก๊สชีวภาพ) พลังงานทดแทนแบบนี้จะช่วยลดต้นทุนในการผลิตของภาคเกษตรได้เยอะทีเดียว พลังงานน้ำ พลังงานน้ำเป็นพลังงานทดแทนอีกชนิดหนึ่งที่มาจากธรรมชาติและบ้านเราใช้มานานแล้ว…
พลังงานชีวมวล หมายถึง สิ่งที่ได้จากสิ่งที่มีชีวิต อย่างเช่น ต้นไม้ต่างๆ ซากอ้อย วัชพืชต่าง รวมถึงมูลสัตว์ ซึ่งประเทศไทยเรานั้นมีสิ่งนี้อยู่มาก เราจึงได้วิจัยหาทางนำสิ่งเหล่านี้มาแปลเปลี่ยนเป็นพลังงาน เพื่อลดการใช้พลังงานในด้านอื่นๆ เช่น พลังงานน้ำมัน พลังงานไฟฟ้า แก๊ส ถ่านหิน และยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ภาวะเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ทำให้เกิดแนวทางใหม่ในการใช้พลังงานในอนาคต ส่วนใหญ่จะแปรเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบแท่ง เพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิง