พลังงานความร้อนใต้พิภพ หรือมีชื่อเรียกอีก ชื่อคือ พลังงานอุณหธรณี เป็นการที่เราเจาะนำพลังงานความร้อนที่อยู่ในใต้ดิน ซึ่งเราต้องเจาะให้ถึงแกนกลางของโลกที่มีอุณหภูมิสูงถึง 5,000 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้น้ำที่ถูกเก็บไว้ในโพรงของชั้นหิน จนกลายเป็นไอน้ำดันขึ้นมาสูงพื้นดินลอยขึ้นมาสูงชั้นบรรยากาศ แล้วจะทำให้กลายเป็นเมฆ แล้วก็ตกลงมาเป็นฝน จึงได้เกิดเป็นพลังงานหมุนเวียน นิยมใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ตอนนี้มี 24 ประเทศที่ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานความร้อนใต้พิภพ แหล่งที่สามารถกักเก็บพลังงานความร้อนใต้พิภพมีอยู่ 4 ลักษณะ คือ 1.แหล่งเป็นไอน้ำ เป็นแหล่งพลังงานที่อยู่ใกล้แหล่งหินเหลมเหลวทำให้บริเวณนั้นเกิดความร้อนสูงจนเดือนเป็นไอ อุณหภูมิของไอน้ำมีความร้อนสูงถึง 240 องศาเซลเซียส 2.แหล่งความร้อนที่ส่วนใหญ่เป็นน้ำเค็ม โดยจะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 180 องศาเซลเซียส บางแหล่งน้ำจะมีก๊าซธรรมชาติประกอบอยู่ด้วย สามารถแยกก๊าชออกมาใช้ประโยชน์ได้อีก 3.แหล่งที่เป็นหินร้อนแห้งโดยที่ไม่มีน้ำอยู่เลย เราจึงต้องนำน้ำเทลงไปเพื่อให้เกิดไอน้ำใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า 4.แหล่งที่เป็นแมกมา หรือลาวาเหลว เป็นแหล่งพลังงานความร้อนที่มีค่าความร้อนสูงสุดที่มีอุณหภูมิถึง 650 องศาเซลเซียสส่วนใหญ่จะสามารถพบได้ในแหล่งใต้ภูเขาไฟ
Articles by admin
พลังงานลม เป็นพลังงานที่ได้จากธรรมชาติ สร้างความแตกต่างของอุณหภูมิ แรงจากการหมุนของโลก แรงกดดันจากชั้นบรรยากาศทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดแรงลม ซึ่งเข้าใจโดยทั่วไปว่าลมเป็นพลังงานจากธรรมชาติที่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง ปัจจุบันเราให้ความสำคัญมากขึ้นจากการนำแรงลมมาประยุกต์ใช้เป็นพลังงานอื่นๆมากขึ้น เนื่องจากพลังงานลมนั้นไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ข้อดีก็คือเป็นพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยในเรื่องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เทคโนโลยีของกังหันลม ทำหน้าที่อะไรบ้าง เทคโนโลยีของกังหันลม เป็นเครื่องจักรที่มีใบพัดที่รับแรงเคลื่อนที่ของลม ให้เป็นพลังงานกลจากนั้นเราก็นำพลังงานกลที่ได้มานั้นในมาใช้ประโยชน์ เช่น การสูบน้ำ การบดสีเมล็ดพันธุ์พืช หรือตอนนี้ได้พัฒนาให้มาเป็นการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งได้ความรู้ทางพลศาสตร์ของลม เพื่อนำมาซึ่งการใช้ประโยชน์สูงสุด โดยมีชนิดของกังหันลม 2 แบบ คือ กังหันลมแบบแกนแนวตั้ง (Vertical Axis Wind Turbine) กังหันลมแบบแกนแนวนอน (Horizontal Axis Wind Turbine)
พลังงานน้ำ เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดจากแสงอาทิตย์ให้ความร้อนจนทำให้น้ำเกิดเป็นไอน้ำที่ลอยตัวสูงขึ้น(พลังงานศักย์) เมื่อไอน้ำเย็นตัวลงจะทำให้ตกลงมาเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก โดยผู้คนคิดค้นได้สร้างสิ่งที่อาศัยแรงขับเคลื่อนโดยใช้น้ำ ปัจจุบันพลังน้ำได้พัฒนาใช้ในการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้พลังงานน้ำได้ถูกนำมาใช้ในกรมชลประทาน ใช้ในการสี ทอผ้า และโรงเลื่อย ซึ่งมนุษย์ได้นำมาใช้ประโยชน์มานานแล้ว โดยคิดค้นกังหันน้ำ(Water Wheel) เพื่อนำมาใช้งานต่างๆหลายประเภท เช่น การโม่แป้งจากเมล็ดต่างๆ ประโยชน์ของการใช้พลังน้ำ ซึ่งมีหลายอย่างมีดังนี้ เป็นพลังงานทดแทนที่สามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆ นั้นก็คือเมื่อเราใช้น้ำไปแล้วเราก็จะปล่อยกลับไปสู่แหล่งน้ำหรือทะเล สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้รวดเร็ว โดยใช้คู่กับเครื่องกลพลังน้ำ และยังสามารถควบคุมปริมานการผลิตพลังงานได้ตามที่เราต้องการ ที่สำคัญเครื่องกลพลังน้ำจะมีความสึกหรอน้อยกว่าประเภทอื่นๆจึงทำให้มีอายุการใช้งานนานขึ้นตามไปด้วย เมื่อเราใช้น้ำในการผลิตพลังงานแล้ว สามารถใช้ไปใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย
พลังงานแสงอาทิตย์ คือพลังงานที่แปลเปลี่ยนจากแสงและความร้อนของดวงอาทิตย์ โดยจะแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์ จะแบ่งออกอยู่ 2 ส่วน คือ เกิดจากแสงและความร้อน ซึ่งพลังงานที่เกิดจากแสงนั้น จะเปลี่ยนเป็นรูปแบบพลังงานได้มี 2 รูปแบบ ได้แก่ แอคทีพโซลาร์ โดยใช้วิธีการ โฟโตโวลตาอิคส์ เพื่อเปลี่ยนจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า และ พาสซีฟโซลาร์ โดยใช้แสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ในทางอ้อมอย่างเช่น เมืองที่มีอากาศหนาว อาจจะติดตั้งวัสดุที่ไวต่ออุณหภูมิ เป็นการปรับความสมดุลของอากาศในอาคาร ให้อากาศหมุนเวียนตามธรรมชาติ การประยุกต์พลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ พลังงานแสงอาทิตย์สามารถใช้ได้หลายแบบ เช่น การฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำร้อนมาผ่านจากแสงแดดโดยตรง หรือถ้าเราต้องการเลี้ยงสาหร่ายที่สังเคราะห์แสงเพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ใช้ในการเกษตรกร โดยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อนำมาทำเกษตร สูบน้ำเข้าไร่นา ติดตั้งแผ่นรับพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อนำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในรูปแบบหนึ่ง นอกจากนี้ยังผลิตน้ำร้อนจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในเชิงพานิชย์ มีการผลิตใช้ทั่วโลก 196 GW